NEWS FROM BANGKOK OPERA FOUNDATION
MAHLER - WITH SOCIAL NETWORKS AND COFFINS
Opera Siam’s London tour of Somtow Sucharitkul’s Mae Naak in September was a huge artistic success — and a financial nightmare, perching the ten-year-old maverick opera company at the edge of the abyss. Undeterred by the setback and encouraged by a legion of friends and enthusiasts who flocked to lend support, Somtow launched a social network campaign through blogging and facebook to finance the continuation of his acclaimed Mahler Cycle, which has garnered international praise. His goal is to sign 100 “Gustav’s Angels” - those who contribute 5,000 baht or more towards the performances ... but he’s added the category of “Engelein” or “Little Angels” to enable people to contribute any lesser amount as well.
“Mahler is a composer who brings out strong emotions, wellsprings of passion,” said Somtow. “It was reckless to announce the continuation of the cycle in our precarious position, and yet this symphony, No. 6, of all Mahler’s symphonies, is a perfect symbol of the human spirit struggling against ultimate despair.” Two weeks ago, Somtow had only a concert announcement and faith. Today the concert is already a quarter of the way towards paying for itself and contributions have poured in through the donation buttons set up on his blogsite, www.somtow.org, from over a dozen countries. “I was particular moved to receive $5 and $10 contributions from fans and friends in countries like the USA, where the contributors had no chance to come to the concert itself, yet wanted to share in this incredible dream to let us play the complete Mahler symphonies by the year 2014,” Somtow said.
The cost of putting on a Mahler symphony using the very best musicians in the country is only one-seventh of doing such a concert in Europe, Somtow adds.
The Siam Philharmonic is already half-way through the cycle of ten Mahler symphonies. But the Sixth is a very special case. Considered by many to be Mahler’s greatest, it has been nicknamed “The Tragic” - though not by Mahler. It was the favorite Mahler Symphony of HRH Princess Galyani Vadhana, to whom Somtow once made the promise that one day Thai musicians would play all the symphonies.
Somtow’s pioneering work in Mahler has had in the past the support of the Austrian Embassy and the International Mahler Society, whose representative, Stan Gayuski, presented him with a baton used by Leonard Bernstein to conduct Mahler’s Ninth Symphony when Somtow performed the Thai premiere of that work in February. Of that performance, Singapore critic Adrian Tan said, “Maestro Sucharitkul’s reading was deeply intimate, in a manner perhaps only possible by a fellow composer, with every phrase shaped with care, true understanding and clearly intended to communicate and not to impress. His strong personal connection to this music can be felt, especially in the last movement - his commitment to his musicians on stage that charged them to play at a level of music-making well beyond what they were used to was an inspiration and a true joy to behold.” Bruce Gaston called the concert “the best classical music event in Thailand in the entire forty years I have lived here.”
Two controversial elements in the symphony are the order of the movements and the “hammer-blows of fate” written into the score. Mahler specified a big but wooden sound for these blows and people have been arguing about how to play them ever since. Somtow’s solution is probably a first “I want to use a coffin lined with gravel,” he said. “The coffin adds a visual element to the symbolism of the hammer blows ... and happens to be just the right size and shape.” The use of a coffin as a percussion instrument may well be a musical first.
No one can agree whether the two inner movements should be played Scherzo-Andante or Andante-Scherzo. “One thing is clear,” Somtow says, “the two sequences create completely different symphonies.” He says he will probably only decide on the day what order to play the movements in.
The Siam Philharmonic’s Mahler Six, with guest concertmaster Vilmos Olah from Hungary, plays Thursday, February 16 at the Mahisorn Hall at 8 pm. The hall is located in SCB Park Plaza, Ratchayothin Road. For more information, go to http://www.thaiticketmajor.com/concert/concert-detail-en.php?sid=1142 or to http://www.operasiam.net. Tickets can be obtained from Thai Ticket Major outlets or their website, www.thaiticketmajor.com.
What will happen if Somtow doesn’t raise enough funding to cover this concert? “I guess I’ll just go further into debt,” said the maestro ruefully. “On the other hand, you only live once.”
Date: February 16, 2012
Place and Time: Mahisorn Hall, Ratchayothin Rd, 8 pm
Tickets: Thai ticketmajor outlets (02) 262-3456, www.thaiticketmajor.com
Bangkok Opera Foundation (02) 231-5273, tickets@bangkokopera.com
ข่าวสารงานคลาสสิคจากมูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ
มาห์เล่อร์ –
โซเชียลเนตเวิร์คกับโลงผี
แม่นากทัวร์ลอนดอนของสมเถา สุจริตกุล
เมื่อกันยายนปีก่อนประสบความสำเร็จอย่างเยี่ยมยอดในแง่ศิลปะ
ขณะเดียวกันก็เป็นฝันร้ายในแง่ทุนทรัพย์สำหรับคณะมหาอุปรากรที่ผ่านร้อนหนาวมานานถึง
10 ปี แต่ด้วยใจยังสู้
สมเถาเปิดแคมเปญในโซเชี่ยลเนตเวิร์คผ่านบล็อกและเฟสบุคประกาศขอรับบริจาคทุนสนับสนุนเพื่อความต่อเนื่องของการนำเสนอซิมโฟนีมาห์เล่อร์ครบวงจรซึ่งได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ
เป้าหมายของเขาคือหา ‘เทวทูตกุสตาฟ’ 100 คนเป็นผู้อุปถัมภ์รายการโดยบริจาคทุนทรัพย์สนับสนุนการผลิตรายละ
5,000 บาท หรือกว่านั้น และในปีนี้สมเถาได้ขยายระดับเทวทูตโดยรวม
‘เทวทูตน้อย’ สำหรับผู้ประสงค์จะบริจาคน้อยกว่านั้น
“มาห์เล่อร์เป็นคีตกวีที่สามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์อย่างรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความหลง หรือกิเลสของมนุษย์”
สมเถากล่าว “ผมไม่ควรพูดถึงความต่อเนื่องของวงจรมาห์เล่อร์ในสถานะการณ์ที่น่าเป็นห่วง แต่กระนั้น...
ในบรรดาซิมโฟนีทั้งหมดของมาห์เล่อร์
ซิมโฟนีบทนี้... หมายเลข 6... เป็นสัญลักษณ์ที่งดงามสมบูรณ์แบบแห่งการดิ้นรนต่อสู้กับความหมดสิ้นซึ่งความหวัง”
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน สมเถาประกาศการแสดงด้วยแรงศรัทธา ทุนสนับสนุนหลั่งไหลมาจากทั้งในและนอกประเทศผ่านบล๊อก
www.somtow.org
ณ วันนี้จำนวนเงินสนับสนุนที่ได้รับมีประมาณหนึ่งส่วนสี่ของทุนการผลิต “ผมรู้สึกซาบซึ้งมากที่เพื่อนๆ
และแฟนคลับบริจาคแม้เพียง 5 หรือ 10 เหรียญจากต่างประเทศเช่นสหรัฐฯ
พวกเขาไม่มีโอกาสมาฟังแต่ก็ยินดีที่จะช่วยสานฝันให้เราได้แสดงซิมโฟนีของมาห์เล่อร์ครบทุกบทภายในปี
2557”
สมเถากล่าวต่อไปว่า ค่าใช้จ่ายในการนำเสนอซิมโฟนีมาห์เล่อร์โดยนักดนตรีที่ดีที่สุดของประเทศใช้ทุนทรัพย์เพียงหนึ่งส่วนเจ็ดของงานเดียวกันในยุโรป
สยามฟิลฮาร์โมนิคได้ก้าวมาถึงครึ่งทางของ ‘วงจรมาห์เลอร์’ แล้ว แต่หมายเลข 6
เป็นสุดยอดของความวิเศษในบรรดาซิมโฟนีทั้งหมดของมาห์เล่อร์ เห็นได้จากชื่อเล่นว่า The Tragic – ซึ่งมาห์เล่อร์ไม่ได้ตั้งขึ้นเอง
นอกจากนั้น ซิมโฟนีหมายเลข 6 ยังเป็นผลงานที่โปรดที่สุดของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริทร์ ซึ่งสมเถาได้ถวายสัตย์ว่านักดนตรีไทยจะบรรเลงซิมโฟนีทุกบทของมาห์เล่อร์ในวันหนึ่ง
สมเถาบุกเบิกผลงานของมาห์เล่อร์ด้วยความร่วมมือของสถานเอกอัครรารชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย
และสมาคมมาห์เล่อร์นานาชาติ ผู้แทนสมาคมฯ
นายสแตน กายุสกี้ ได้มอบบาตองที่ลีโอนาร์ด เบิร์นชไตน์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ใช้อำนวยเพลงซิมโฟนีเดียวกันนี้เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตวาทยกร ให้สมเถาใช้อำนวยเพลงในการบรรเลงมาห์เล่อร์หมายเลข
9 ซึ่งนักวิจารณ์ดนตรีจากสิงคโปร์ได้กล่าวชมเชยว่า
“ไมสโตรสมเถาเข้าถึงผลงานอย่างลึกซึ้งในฐานะคีตกวีด้วยกัน เขาหล่อหลอมแต่ละวลีอย่างระมัดระวังและด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าจงใจสื่อและไม่ใช่เพื่อสร้างความประทับใจ ความผูกพันส่วนตัวที่สมเถามีต่อดนตรีแรงกล้าจนผู้ฟังรู้สึกได้โดยเฉพาะในกระบวนสุดท้าย
– ความรับผิดชอบที่มีต่อนักดนตรีทำให้พวกเขาสามารถเล่นได้ในระดับดีเด่นกว่าที่เคย
นับเป็นบุญหูอย่างยิ่งของผู้ฟัง” บรูซ
แกสตัน เรียกการบรรเลงครั้งนั้นว่า “เป็นดนตรีคลาสสิคที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทยตลอดเวลา
40 ปีที่ผมใช้ชีวิตที่นี่”
องค์ประกอบที่ขัดกันของซิมโฟนีหมายเลข 6
ได้แก่การลำดับกระบวน กับ ‘เสียงฆ้อนแห่งโชคชตา’ ในโน้ตดนตรี มาห์เล่อร์กำหนดให้มีเสียงไม้ขนาดใหญ่ฟาดลงมา มีหลายคนถกเถียงกันว่าจะเล่นอย่างไร ทางออกของสมเถาซึ่งออกจะแหวกแนวคือ “ผมอยากใช้โลงศพ รองก้นด้วยก้อนกรวด โลงผีจะช่วยให้มองเห็นองค์ประกอบอันเป็นสัญลักษณ์ของฆ้อน...
ซึ่งเหมาะทั้งขนาดและรูปทรง” อาจจะเป็นครั้งแรกก็ได้ที่มีการใช้โลงศพแทนเครื่องเคาะจังหวะ
ไม่มีใครมีความเห็นตรงกันเลยว่าอีก 2 กระบวนควรจะบรรเลงในรูปแบบ
Scherzo-Andente
หรือ Andante-Scherzo “ที่เห็นชัดๆ
อย่างหนึ่งก็คือ” สมเถากล่าว
“สองกระบวนที่ต่อเนื่องเป็นซิมโฟนีที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง”
สมเถาจะตัดสินว่าจะเล่นกระบวนไหนก่อนในวันแสดงจริง
การบรรเลงมาห์เล่อร์ 6 โดยสยามฟิลฮาร์โมนิค กับคอนเสิร์ตมาสเตอร์รับเชิญจากประเทศฮังการี
วิลโมส โอลาห์ และอำนวยเพลงโดย สมเถา สุจริตกุล เปิดแสดงในวันพฤหัสที่ 16
กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องประชุมมหิศร เอส.ซี.บี. ปาร์คพลาซ่า รัชโยธิน หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเปิดเวบไซต์
http://www.thaiticketmajor.com/concert-detail-en.php?sid=1142
หรือ http://operasiam.net
สำรองบัตรได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา
หรือทางเวบไซต์ thaiticketmajor.com
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าสมเถาหาเงินได้ไม่พอค่าทำคอนเสิร์ต “ผมก็...
คงต้องก่อหนี้ต่อไป” ไมสโตรสมเถากล่าวเศร้าๆ “แต่จะว่าไปแล้ว... ชีวิตเราก็แค่เนี้ยะ...”
วันแสดง
พฤหัสที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
ที่ไหน
เวลาอะไร ห้องประชุมมหิศร เวลา 20.00 น.
บัตรมีจำหน่ายที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
(02) 262-3456 www.thaiticketmajor.com
และ
มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ (02) 231-5273, (089) 136-9981, (086) 749-9559 tickets@bangkokopera.com
No comments:
Post a Comment